ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 เลขที่ 19 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2 
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555
เวลา8.30-12.20 น.

-พูดเกี่ยวกับองค์ประกอบของบล็อก
#ชื่อและคำอธิบายบล็อก
#รูปและข้อมูลผู้เรียน
#ปฏิทินและนาฬิกา
#เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน ,หน่วยงานสนับสนุน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ , บทความ , สื่อ ( เพลง ,เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น )
-คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ
ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว
เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี
อยู่จริงในชีวิตประจำวัน
-กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ
เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น
-การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส
ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ
ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว


-ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
        ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
        ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
        อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
-คณิตศาสตร์ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อยู่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากว่าหรือน้อยกว่า สั้น -ยาว สูง -ต่ำ ใหญ่- เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาณมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย
***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)
***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ
***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 
1. ส้ม 2-3 ผล 
2. มะม่วง 2-3 ผล 
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 
4. กจาด 
5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม 
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับ จำนวนผลไม้ 
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้


 





*การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

+++งานที่ได้รับมอบหมาย+++
-ให้ไปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปีพ.ศ. เลขหนังสือ
-หาความหมายของคำว่า "คณิตศาสตร์" แล้วเขียนมาว่าใครเขียน ชื่อหนังสือและเขหน้า
-จุดมุ่งหมาย เป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์
-ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์หรือวิธีการสอน
-ขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาตร์มีอะไรบ้าง    
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น