ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 เลขที่ 19 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 9
วันพฤหสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555
เวลา 8.30 - 12. 20 น.

ไม่มีการเรียนการสอน
 
***หมายเหตุ เนื่องจากนักศึกษาบางคนสอบเสร็จแล้วขอกลับบ้านเลย จึงมีนักศึกษามาเรียนน้อย อาจารย์เลยให้หยุด เพื่อที่นักศึกษาบางคนจะได้กลับบ้านในวันหยุดปีใหม่



วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555
เวลา 8.30 - 12.20 น.

สอบกลางภาค




****ค้นคว้าเพิ่มเติม****


อ่านแล้วเข้าใจ เข้าใจแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้

            นี่ เป็นปรัชญาที่ใช้กันมานาน บางคนก็อาจจะรู้อยู่แล้ว ในการที่เราจะจำเนื้อหาของเรื่องที่เรียนไปได้แม่น มันต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหานั้น ก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าจำ จำอย่างเดียว จำแบบไม่เข้าใจอะไรเลย การจำแบบนี้เป็นการจดจำระยะสั้น และไม่สามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบแบบวิเคราะห์ได้ เพราะในขั้นตอนการจำ ไม่มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นไป เลยทำให้ไม่รู้หลักเหตุและผล ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หากข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่จำไป ก็จบเห่น่ะสิ

 การเขียนหรือการจดโน้ต

เป็น วิธีที่จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนเขียนเราต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าจะเขียนอะไรลงไป อย่าลอกตามหนังสือไปทั้งดุ้น และอย่าจดแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป หรือจดแบบให้มีตามเพื่อน (เป็นกระแสนิยม) เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย ควรจะสรุปประมวลออกมาเป็นเนื้อความ ตามที่เราเข้าใจ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย อาจตรวจสอบโดยการผลัดกันตอบคำถามกับเพื่อน หรือถามครูอาจารย์ ดังนั้นอย่าขี้เกียจเขียนเลย เขียนเอง อ่านเอง ผลที่ได้ก็อยู่ที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ

 คราวนี้ก็มาถึงการท่องจำ

            ส่วน ใหญ่เมื่อเรารู้เรื่อง เราก็จะจำบางส่วนของเนื้อหาได้แล้ว นอกจากบางวิชา เช่น ชีวะฯ สังคม ที่เป็นวิชาท่องจำซะส่วนใหญ่ อาจต้องมีการมาท่องจำเพิ่มเติม การอ่านออกเสียงดัง ๆ ก็ช่วยให้จำดีขึ้น แต่ไม่ควรจะรบกวนผู้อื่น (มิฉะนั้นอาจจะได้รับสิ่งไม่พึงปรารถนา) การจำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจใช้วิธีเขียนใส่กระดาษแล้วแปะตามข้างฝาที่เรามองเห็นหรือผ่านตาเป็นประจำ เช่น ฝาข้างที่นอน ประตูห้องสุขา (ที่บ้านของตัวเองนะ) ตามที่ที่เราต้องเห็นทุกวัน อ้อ... ประตูของตู้เย็นก็ดีนะ เพราะเปิดออกจะบ่อย ก็หันมาเหลียวแลศัพท์ที่ตัวเองแปะไว้บ้าง เห็นบ่อย ๆ เดี๋ยวก็เข้าสมอง

 เวลาที่ดีสำหรับการอ่าน

            เคย มีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็ได้ เพราะความเงียบทำให้สมองเราสามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก การอ่านหนังสือตอนกลางคืน ควรจะอ่านเท่าที่ร่างกายรับได้ พอเริ่มง่วงสัก 5 ทุ่มก็ควรเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้

 เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย

            คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า... พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน หรือเปล่า เพราะช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ

            การอ่านหนังสือ ควรจะอ่านในสถานที่ที่สงบเงียบ และสมองของเราต้องพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด




ที่มา: วิชาการดอตคอม

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม 2555
เวลา 8.30-12.20 น.


-คู่มือ คือ สิ่งที่ใช้บอกก่อนใช้งานเพื่อดำเป็นแนวทางในการใช้งาน อธิบายรายละเอียด บอกความหมายและความสำคัญ
-มาตรฐาน คือ สิ่งที่ให้เกิดความเชื่อถือ สิ่งที่มีคุณภาพ สิ่งที่ต้องการเป็นแนวทางมีการใช้งาน
-คู่มือกรอบมาตรฐาน คือ สิ่งที่บอกความน่าเชื่อถือ
-คณิตศาสตร์เป็น เครื่องมือในการใช้ในทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือในการเรียนรู้คือ ภาษา และคณิตศาสตร์ ภาษาและคณิตศาสตร์เป็นหลักในการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ 
สสวท คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



***สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม***
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์ สาหรับเด็กปฐมวัย

เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูก ๆ เรียนอะไรกัน  


วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555
 เวลา 8.30 - 12.20 น.


***การเรียนการสอนในวันนี้
อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกล่องมาคนละ 1 กล่อง (ให้เตรียมมาในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา)
แล้วอาจารย์ได้อธิบายว่ากล่องมีประโยชน์ในการเรียนการสอนอย่างไร
***หลักการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-เรียนรู้ผ่านการเล่น  สอดแทรกเนื้อหาเพื่อเพิ่มพัฒนาการเด็ก
-การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ
-เด็กจะคิดเล่นตามอิสระ คือ การที่เด็กได้เลือกและตัดสินใจเอง เพราะจะทำให้เด็กละความเครียด ไม่กังวนเรื่องถูกผิด และมีความสุขในการเรียน
-ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือสนับสุนน
-ให้เด็กเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
***การยกตัวอย่างด้วยกล่อง ที่เลือกกล่องเป็นสื่อในการสอน เพราะ ความสะดวก หาได้ง่าย และประหยัดเป็นวัสดุเหลือใช้
***ทำไมต้องใช้กล่องในการสอนคณิตศาสตร์
เพราะกล่องมีขนาดแตกต่างกัน สามารมองเห็นได้ชัดและกล่องยังมีมิติทำให้มีมุมมองแตกต่างกันที่สำคัญเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์
***กิจกรรมในการเรียนการสอน
1.อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ก็ได้ 4 กลุ่ม
2.ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดว่าจะนำกล่องมาปะดิษฐ์เป็นรูปอะไร
***สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนแต่ละกลุ่มได้ตั้งชื่อว่า
-เจสกีกับรถแทคเตอร์
-หุ่นยนต์(โลโบ้)
-หนอน
-เรือปิโตเลียมไทย
 ***ประโยชน์ของกล่อง
1. กล่องสามารถทำเป็นสื่อได้หลายชนิด
2. กล่องสามารถนำมารีไซเคิลในการประยุกต์ใช้ได้
3.ได้ทราบถึงรูปทรง ขนาด ปริมาณพื้นที่ และสิ่งต่างๆอีกมากมายว่าเป็นอย่างไร เช่น กล่องรูปทรงผืนผ้า

สรุปการทำกิจกรรมครั้งนี้
-ได้รู้จักการวางแผน
-ได้เรียนรู้รูปทรงที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน
-ได้เรียนรู้เรื่องจำนวน
-รู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-รู้จักการแก้ปัญหา
-รู้จักการทำงานร่วมกัน
 

 

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555
เวลา 8.30 - 12.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน
-  จับคู่ 2 คน    นำเสนอขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์  หน้าชั้นเรียน
-  รับกระดาษคนละ 1 แผ่น   "เขียนความรู้สึกที่เรียนในวันนี้"