ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 เลขที่ 19 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานบายเนียร์ (สาขาการศึกษาปฐมวัย)




บายเนียร์ (colorful) วันที่ 03/03/56 สถานที่ ร้านอาหารนครคารา



วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

กีฬาสีสาขาการศึกษาปฐมวัย

วันที่ 02/03/56  สถานที่ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิจัยทางคณิตศาสตร์

ชื่อวิจัย  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ชื่อผู้วิจัย ปานิตา กุดกรุง



ภาคผนวกงานวิจัย



ที่มา  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Panita_K.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว" ณ ลานแดง 


 -  อาจารย์ให้ดูงานศิลปะของเด็กปฐมวัยที่บูรณาการคณิตศาสตร์  จากโรงเรียนเกษมพิทยา





  -  สอบสอน  กลุ่มที่ 3  หน่วย ... ธรรมชาติ (ทะเลแสนงาม)
      วิธีการสอนของเพื่อน คือ

      1.  ใช้คำถาม "เด็กๆเคยไปเที่ยวทะเลไหมค่ะ?"   แล้วที่ทะเลมีสัตว์อะไรบ้าง?

      2.  ใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเรื่องทะเล  นิทานเรื่อง .... โลกใต้ท้องทะเล  
-  สอบสอน กลุ่มที่  4  หน่วย ...  ผม
       วิธีการสอนของเพื่อน   คือ

       วันจันทร์ :  ชนิดของผม

       - เอามือจับหัว  จับไหล่  จับเอว จับหัว  (2 รอบ)  เด็กๆลองสัมผัสดูสิค่ะว่าเด็กๆจับอะไรอยู่?
       1.  จุดมุ่งหมายที่สอนเรื่องผมคือ????   >> อยากให้รู้เรื่องผมเพื่อการดูแลรักษา

       2.  ต้องแตก Map ชนิดของผม

       3.  การสอนในวัจันทร์ต้องเป็นเรื่องของลักษณะของผม

       4.  การเปรียบเทียบต้องเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต้องมีจุดเด่นของสิ่งนั้นๆ

       5.  การนำเสนอข้อมูล

            -  ลักษณะของผม >> Mapping

            -  ทำสถิติความชอบของเด็ก ผมสั้น,ผมยาว

            -  หน้าที่ของผม >> นิทาน , แตก Mapping ความคิด

            -  ประโยชน์และข้อควรระวัง >> การเปรียบเทียบ

            -  วิธีดูแลรักษา >> แตก Mapping แสดงขั้นตอนของการดูแลรักษา

            -  อาชีพที่เกิดจากผม  >>  แตก Mapping 

วันจันทร์  
 
  เปิดประเด็นคำ ถามเกี่ยวกับผม ว่าผมของเด็กมีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไรแล้วทำตารางวิเคราะห์เพื่อที่จะทำให้เด็กนับจำนวนเพื่อนที่ มีผมสีดำกี่คนสีสีน้ำตาลกี่คน แล้วเพื่อนคนที่มีผมตรงกี่คนแล้วเพื่อนคนที่มีผมหยิกกี่คน แล้วให้เด็กใส่ตัวเลขกำกับ

วันอังคาร
 
       จะเป็นการทบทวน เนื้อหาที่เรียนเมื่อวานว่าผมมีลักษณะอย่างไรบ้าง แล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของหน้าที่ของผมโดยจะเป็นการนำเสนอด้วยนิทานเพื่อให้ เด็กได้เข้าใจว่าผมมีหน้าที่อะไรบ้าง

วันพุธ  
 
       ถามเด็กว่าเมื่อวานหน้าที่ของผมมีหน้าที่อะไรบ้าง แล้ววันนี้จะเป็นเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวัง

วันพฤหัสบดี  
 
      สอนเรื่องวิธีดูแลรักษาเส้นผม โดยจะมีการสาธิตปฏิบัติจริงเช่น การสระผมการดูแลเส้นผม จากวิกผม 

วันศุกร์ 
 
  อาชีพของผมมีอาชีพอะไรบ้าง พร้อมกับทำเป็นแผนภูมิให้เด็กนำแผ่นป้ายไปติดอาชีพที่เด็กชอบ แล้วดูการเปรียบเทียบเรื่องของจำนวนว่าอาชีพไหนที่เด็กชอบทำมากกว่ากัน

 





วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครังที่ 15
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

เนื้อหาที่เรียนวันนี้

-  สอบสอน กลุ่มที่ 2  หน่วย.... ต้นไม้
วันจันทร์    :   ชนิดของต้นไม้
-  ครูต้องเปิดประเด็น (นำเข้าสู่บทเรียน) -  ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก  "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าที่บ้านปลูกต้นไม้อะไรบ้างค่ะ?" -  การสอนของครู คือ  การนำต้นไม้จริงมาให้เด็กๆได้เห็นภาพจริง และสามารถสัมผัสกับสิ่งนั้นได้  
    ต้นไม้ที่ครูนำมามี 2 ประเภท คือ  ต้นไม้ยืนต้น  (มะขาม)  และต้นไม้ล้มลุก (ผักชี)
-  ให้เด็กๆลองแยกประเภท ก็จะได้ ต้นเล็กกับต้นใหญ่ >> ขนาดของลำต้น -  ครูจะสอนต่อว่า "ต้นไม้ยืนต้นนั้นมีลักษณะอย่างไร?"  และ "ต้นไม้ล้มลุกมีลักษณะอย่างไร?"
วันอังคาร  :   ลักษณะของต้นไม้
- เมื่อวานเด็กๆรู้จักต้นไม้อะไรบ้างค่ะ -  คุณครูนำต้นมะขามและต้นผักชีขึ้นมาให้เด็กๆสังเกต (การให้เด็กสังเกตต้องให้ดูทีละชนิดและทีละประเภทเท่านั้น) -  สิ่งที่เด็กๆต้องสังเกต เช่น  ราก  ใบ  ลำต้น >> แล้วให้บอกความแตกต่างของต้นไม้ทั้งสองต้น -  เขียนผัง แสดงการวิเคาระห์และเปรียบเทียบ  


  -นำเสนอเป็นแผนภูมิวงกลม 

 
วันพุธ  :  ส่วนประกอบของต้นไม้

-  ครูใช้คำถามทบทวนความรู้ที่เด็กๆเรียนไปแล้วเมื่อวาน "ต้นไม้ล้มลุกและต้นไม้ยืนต้นมีอะไรที่ต่างกันค่ะ?"
-  วันนี้คุณครูมีส่วนประกอบของต้นไม้มาให้เด็กๆดู  (ครูมีรูปภาพให้เด็กๆดู)
-  เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบต่างๆของต้นไม้มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?  ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
-  ครูอาจจะยกตัวอย่างการเปรีบเทียบต้นไม้กับคน  เช่น  ราก = ปาก 
-ไดเรื่องตำแน่ง ทิศทาง เช่น ใบอยู่สุงสุด ลำต้นอยูตรงกลาง
-   ''ครูถามเด็กๆว่าเด็กๆอยากปลูกดอกไม้อะไร?''  ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ


 
- หลังจากที่ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ แล้วใช้ตัวเลขกำจับจำนวน หรือใช้คำว่ามากกว่า หรือน้อยกว่า เช่น  1.  เด็กที่อยากปลูกดอกมะลิน้อยกว่าเด็กๆที่อยากปลูกดอกทานตะวัน     2 คน
        2.  เด็กๆที่อยากปลูกดอกทานตะวันมากกว่าเด็กๆที่อยากปลูกดอกมะลิ   2 คน


วันพฤหัสบดี  :  ประโยชน์ของต้นไม้

คุณครูใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เด็กๆทราบถึงประโยชน์ของต้นไม้
วันศุกร์  :  อันตรายจากต้นไม้
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดของเด็กๆ "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าเด็กๆเคยได้รับอันตรายจากต้นไม้ไหม?"
-  ครูบอกข้อระวังต้นไม้บางประเภทที่ถ้าเข้าใกล้แล้วจะเกิดอันตราย  เช่น  ต้นไม้มีพิษ
-  ครูอาจมีภาพที่เด็กได้รับอันตราย เช่น  ต้นไม้หักหล่นทับ  ตกต้นไม้  
-  ครูอาจพาเด็กๆออกไปสำรวจต้นไม้ในโรงเรียน


วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556
เวลา 8.30 - 12. 20 น.

เนื้อหาที่เรียนวันนี้ 
---วันนี้เป็นกลุ่มของฉันออกไปสาธิตการสอน เรื่อง ดิน

วันจันทร์ -----ชนิดของดิน
-เราควรพูดคำถามเปิดประเด็น ว่าเด็กเคยดินอะไรบ้างคะ เพื่อทดสอบประสบการณ์เดิม
การทดสอบประสบการ์เดิม เป็นการแบ่งความรู้ มีส่วนร่วม คิดถึงเหตุการณ์
-เขียนลงบนกระดานตามที่เด็กบอก(เขียนให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสิบ)

 -พอเขียนเสร้จก็ใส่ตัวเลขกำกับ แล้วถามว่าดินมีทั้งหมดกี่ชนิด
-หลังจากนั้นก็นำดินที่เราเตรียมมาใส่ตะกร้าหรือกล่อง เพื่อให้เด็กคาดคะเน แล้วถามว่า เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าคะ
-นำดินที่เตรียมไว้ออกมาแล้วถามเด็กว่ามีดินอะไรบ้าง มีกี่ชนิด แล้วให้เด็กได้สัมผัสดู
-แล้งก้แยกประเภท นำมาเปรียบเทียบ 1 : 1

วันอังคาร ---ลักษณะของดิน  (ของฉัน)
-ทบทวนเรื่องที่เรียนเมื่อวาน
-แล้วนำดินที่เตรียมมาให้เด็กสัมผัส แล้วให้เด็กสังเกตว่ามีอะไรแตกต่างกัน สีเป็นยังไง ขนาดเป็นไง 
รูปร่างเป็นไง เป็นต้น
-พอเด็กตอบนำมาเขียนเป็นตารางสรุป

-นำเสนอเป็นแผนภูมิวงกลม
วันพุธ----สิ่งที่อยู่ในดิน
 -ทบทวนเรื่องของเมื่อวาน
-พาไปสังเกตข้างนอกหรือครูเตรียมดินใส่ถุงแล้วนำ เปลือกไม้ หอย ก้อนหิน ไส้เดือน เป็นต้น
ให้เด็กแยกสิ่งที่มีชีวิกับไม่มีชีวิต

วันพฤหัสบดี -----ประโยชน์ของดิน
-เล่านิทาน ต้องเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์หรือใช้เพลงก็ได้

วันศุกร์-----ข้อควรระวัง
-อธิบายว่าดินมีเชื้อโรค 
-อาจใช้หุ่นมือมาเล่านิทานก็ได้

****ในวันสุดท้ายควรจะให้เด็กได้ลงไปสัมผัสจริงๆ ให้เด็กทำกิจกรรมเตรียมดินปลุกต้นไม้ และวักระยะในการปลุกก็ได้