ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555
เวลา 8.30-12.20 น.
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียน การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ปฐมวัย ว่าเราจะสอนในเรื่องใดบ้าง เราควรเลือกหน่วยการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก คือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก และมีอิทธิพลต่อตัวเด็กอาจารย์สอนอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกมาเป็นหัวข้อหลักๆ3หัวข้อ
1.การจัดประสบการณ์
2คณิตศาสตร์
3.เด็กปฐมวัย
- พัฒนาการ คือ การเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
เช่น พัฒนาการด้านร่างกาย
พลิกตัว => คว่ำ => คลืบ => คลาน => นั่ง => ยืน => เดิน => วิ่ง
- วิธีการเรียนรู้ คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากระทำกับวัตถุ
เช่น ตา => ดู
หู => ฟัง
จมูก => ดมกลิ่น
ลิ้น => ชิมรส
กาย => สัมผัส
-การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
-การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
-การเรียนรู้ของคนเราจากไม่รู้ ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน
"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่า การรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอด แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง(response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"
***การเรียนรู้เป็นพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ภาพหน้าที่การทำงานของสมอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น