ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 เลขที่ 19 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4 
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555
เวลา 8.30-12.20 น.





 อ้างอิงจาก : ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย,นิตยา ประพฤติกิจ , 2541 ซ 17-19

กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การ นับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

ตัวอย่างกิจกรรม จับคู่ลูกหมู
จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
อุปกรณ์
1. แผ่นผ้ายสำลี
2. ภาพลูกหมู
3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากกการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะ อย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี
จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม
อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน
ขั้นจัดกิจกรรม
1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว
2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม
3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด
4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ
อุปกรณ์
1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ
2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน
2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ
3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ
4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง
5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่”
6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3 
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2555
เวลา 8.30-12.20 น.


My mapping เรื่อง คณิตศาสตร์
จัดทำโดย  นางสาวอุบล สุขสร้อย 5411203010 เลขที่ 19
อ้างอิงเนื้อหาจาก : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร. กุลยา ตันผลาชีวะ 2551
                         หน้า 155,157,160-161
                         รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
                         สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2542 หน้า 8


My mapping เรื่อง คณิตศาสตร์(กลุ่ม)


จัดทำโดย  1.นางสาวจิราวรรณ  แพงวงค์
               2.นาสาวอุบล         สุขสร้อย  
               3.นางสาวศิรินภา     สมพันธ์
อ้างอิงเนื้อหาจาก : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร. กุลยา ตันผลาชีวะ 2551
                         หน้า 155,157,160-161
                         รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
                         สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2542 หน้า 8-11
                         คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ศิวพร เชษฐสม 2530 หน้า 19



- เทคนิคในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม  เช่น    ปรบมือ ครั้ง   ,   การร้องเพลง


               กลุ่มไหน  กลุ่มไหน       รีบเร็วไว หากลุ่มพลัน
              อย่า... มัวชักช้า                 เวลาจะไม่ทัน
              ระวังจะเดินชนกัน           * เข้ากลุ่มพลันว่องไว (ซ้ำ *)
** เทคนิคต่างๆที่ใช้ในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม จะต้องสร้างข้อตกลง หรือกำหนดกติกาเสียก่อน **
 


ภาพบรรยากาศการทำงานและการเรียนการสอนในห้อง 



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2 
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555
เวลา8.30-12.20 น.

-พูดเกี่ยวกับองค์ประกอบของบล็อก
#ชื่อและคำอธิบายบล็อก
#รูปและข้อมูลผู้เรียน
#ปฏิทินและนาฬิกา
#เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน ,หน่วยงานสนับสนุน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ , บทความ , สื่อ ( เพลง ,เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น )
-คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ
ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว
เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี
อยู่จริงในชีวิตประจำวัน
-กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ
เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น
-การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส
ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ
ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว


-ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
        ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
        ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
        อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
-คณิตศาสตร์ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อยู่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากว่าหรือน้อยกว่า สั้น -ยาว สูง -ต่ำ ใหญ่- เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาณมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย
***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)
***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ
***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 
1. ส้ม 2-3 ผล 
2. มะม่วง 2-3 ผล 
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 
4. กจาด 
5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม 
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับ จำนวนผลไม้ 
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้


 





*การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

+++งานที่ได้รับมอบหมาย+++
-ให้ไปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเขียนชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปีพ.ศ. เลขหนังสือ
-หาความหมายของคำว่า "คณิตศาสตร์" แล้วเขียนมาว่าใครเขียน ชื่อหนังสือและเขหน้า
-จุดมุ่งหมาย เป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์
-ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์หรือวิธีการสอน
-ขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาตร์มีอะไรบ้าง    
 

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ครั้งที่ 1 

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555

เวลา 8.30-12.20 น.

   สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียน การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ปฐมวัย ว่าเราจะสอนในเรื่องใดบ้าง เราควรเลือกหน่วยการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก คือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก และมีอิทธิพลต่อตัวเด็ก

      อาจารย์สอนอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกมาเป็นหัวข้อหลักๆ3หัวข้อ

1.การจัดประสบการณ์
2คณิตศาสตร์
3.เด็กปฐมวัย


- พัฒนาการ คือ การเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
เช่น พัฒนาการด้านร่างกาย
พลิกตัว => คว่ำ => คลืบ => คลาน => นั่ง => ยืน => เดิน => วิ่ง
- วิธีการเรียนรู้ คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากระทำกับวัตถุ
เช่น ตา => ดู
หู => ฟัง
จมูก => ดมกลิ่น
ลิ้น => ชิมรส
กาย => สัมผัส
-การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
-การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง



-การเรียนรู้ของคนเราจากไม่รู้ ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน




"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่า การรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอด แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง(response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"


        ***การเรียนรู้เป็นพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี






ภาพหน้าที่การทำงานของสมอง